ReadyPlanet.com


วัสดุหลังคาใส ราคาดี สไตล์โมเดิร์น มีให้เลือกกี่ประเภท
avatar
Ampelite


 

สำหรับหลังคาใส ราคาดี มีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติโดดเด่นแตกต่างกันไป โดยหลังคาใสที่เหมาะกับการติดตั้งในอาคาร มีให้เลือกทั้งหมด 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้


วัสดุ หลังคาแบบใส ยอดฮิตพร้อมบอกข้อดี และข้อเสีย ที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อ


  1. หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก

หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก เรียกได้ว่าเป็นหลังคาที่เข้ากับบ้านโมเดิร์นอย่างมาก ด้วยพื้นผิวที่เรียบ ใส และมีความเงาเทียบเท่ากับกระจก แต่มีน้ำหนักใกล้เคียงหลังคากระจก และไม่เหมาะกับการดัดโค้ง เพราะอาจส่งผลต่อการรั่วซึมของน้ำฝนได้ ทั้งยังป้องกันแสงแดด และรังสี UV ได้มากถึง 90% จึงช่วยประหยัดค่าไฟได้ดี เหมาะกับบ้านในเมืองไทยที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี

  1. หลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส

หลังคาใส ราคาดี อย่าง หลังคาไฟเบอร์กลาส เป็นวัสดุที่ผลิตด้วยเรซินชนิดพิเศษ เสริมด้วยเส้นใยไฟเบอร์กลาส ทำให้มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นสูง และทนทานต่อสภาพอากาศเมืองไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหลังคาไฟเบอร์กลาส สามารถป้องกันความร้อน และรังสี UV ได้มากกว่า 99% ที่สำคัญสามารถให้แสงธรรมชาติส่องผ่านได้อย่างทั่วถึง ทำให้อาคารมีความโปร่ง มองไปทางไหนก็สบายตา 


  1. หลังคากระจกลามิเนต

หากต้องการใช้หลังคาใสแบบกระจก เพื่อเพิ่มความโมเดิร์นให้กับอาคารมากยิ่งขึ้น ควรเลือกหลังคาที่ทำจากกระจกลามิเนต ซึ่งประกอบไปด้วยกระจก 2 แผ่นประกบกัน โดยมีฟิล์มป้องกันรังสี UV คั่นอยู่ระหว่างกลาง ทำให้วัสดุมีความโดดเด่นในเรื่องของการป้องกันรังสี UV ได้มากกว่า 99% และสามารถป้องกันการรั่วซึมได้ดี ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเวลาฝนตก 

  1. หลังคาโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนต

สำหรับหลังคาโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนต ถือเป็นหลังคาสไตล์โมเดิร์นที่นิยมนำมาใช้งานที่สุด เนื่องด้วยคุณสมบัติของโพลีคาร์บอเนตที่มีความแข็งแรงมากกว่ากระจก สามารถต้านทานแรงกระแทกได้ดี แต่มีน้ำหนักที่เบากว่า และดัดงอได้ง่ายกว่ากระจก นอกจากนี้ หลังคาโพลีคาร์บอร์เนตยังมีคุณสมบัติที่ทนต่อความร้อน และรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะ Virgin Polycarbonate 100% แอมเพอแรม ที่ได้มาตรฐานยุโรป   

  1. หลังคาโปร่งแสง uPVC

ส่วนหลังคา uPVC หรือหลังคาไวนิล เป็นหลังคาที่เหมาะกับอาคารสไตล์โมเดิร์นอย่างมาก เพราะมีคุณสมบัติยืดหยุ่น น้ำหนักเบา แข็งแรง รวมถึงมีความทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ที่สำคัญ uPVC จะไม่ส่งผ่านความร้อน และดูดซับเสียงได้ดี ทำให้ภายในอาคารปราศจากความร้อน อีกทั้งยังช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ampelite.co.th/



ผู้ตั้งกระทู้ Ampelite :: วันที่ลงประกาศ 2024-02-21 11:58:53


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล