ReadyPlanet.com


จะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองกำลัง “มองโลกในแง่ดี” หรือกำลัง “โลกสวย”?
avatar
เจ้าหนู


 

หนึ่งในคำถามที่คนมักจะถามกันบ่อย ๆ ก็คือ “แบบนี้มันเป็นการมองโลกในแง่ดีหรือว่าโลกสวยกันแน่?” ซึ่งคนส่วนมากมักจะไปโฟกัสกันที่รูปแบบของประโยคมากกว่าที่จะโฟกัสที่ความรู้สึกระหว่างพูดประโยคนั้น ทำให้เกิดความสับสนระหว่างสองคำนี้ โดยเฉพาะหากคนที่มีข้อสงสัยใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นหลักในการวัดว่าแบบไหนมองโลกในแง่ดีและแบบไหนโลกสวย ก็จะมีโอกาสสูงมากในการแยกแยะคลาดเคลื่อนไปจากความจริง

 

 

ก่อนที่จะชวนคุณวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างการมองโลกในแง่ดีกับการโลกสวยหลอกตัวเอง อยากชวนให้ทำความรู้จักกับการมองโลกในแง่ดีก่อน ดังนี้

 

 

ส่วนคำว่า “โลกสวย” นั้นมีความแตกต่างไปจากการมองโลกในแง่ดี โดยผู้เขียนขอตีความคำว่าโลกสวยในที่นี้ว่ามันน่าจะตรงกับคำว่า “การมองบวกแบบเป็นพิษ (Toxic Positivity)” มากที่สุด ซึ่งมันมีลักษณะดังนี้

 

 

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเราไม่สามารถใช้รูปแบบของประโยคเป็นตัวจำแนกได้ว่าประโยคแบบไหนมาจากการมองโลกในแง่ดีและประโยคไหนสะท้อนความเป็นคนโลกสวยหลอกตัวเอง เพราะรูปแบบของประโยคมีความเกี่ยวข้องกับภาษาและภาษานั้นตีความได้หลายแบบขึ้นอยู่กับว่าใครตีความรวมไปถึงบริบทของคนที่พูด ยกตัวอย่างเช่น

 

 

“ดีแล้วแหละที่เลิกกับผู้ชายคนนี้ไปได้ ต่อจากนี้จะได้เริ่มต้นใช้ชีวิตในแบบที่ควรจะเป็นสักที”

 

 

หากผู้พูดมีความรู้สึกไปในทางโล่งใจ และบริบทของผู้พูดคือแฟนเก่าเป็นคนที่มีพฤติกรรมรบกวนจริง ๆ เช่น เจ้าชู้ ติดการพนัน ก้าวร้าว ขี้หึงแบบไม่มีเหตุผล หรือรับรู้ได้ตั้งแต่ก่อนเลิกกันแล้วว่าความสัมพันธ์เป็นแบบ Toxic Relationship ประโยคนี้ก็จะเป็นการมองโลกในแง่ดี

 

แต่หากผู้พูดมีความรู้สึกเจ็บปวดหรือหดหู่ และบริบทของผู้พูดคือแฟนเก่านั้นเป็นคนที่ไม่ได้มีพฤติกรรมแย่อะไรเพียงแต่บุคลิกอาจจะแตกต่างกันมากจนทำให้ไปต่อไม่ได้ หากค้นลึกเข้าไปข้างในจิตใจของผู้พูดแล้วก็คือไม่อยากจะเลิกกับแฟนเก่าเลย ประโยคนี้ก็จะเป็นการมองแบบโลกสวยหลอกตัวเอง

 

 

ความแตกต่างอีกอย่างของสองคำนี้ก็คือ ผลกระทบและพฤติกรรมที่เกิดจากวิธีการคิดของตนเองที่มีต่อคนรอบข้าง คนที่มองโลกในแง่ดีมักไม่มีพฤติกรรมรบกวนคนอื่น แต่คนที่มองแบบโลกสวยหลอกตัวเองนั้นมักจะตรงข้าม เนื่องจากวิธีการมองโลกนั้นส่งผลต่ออารมณ์ คนที่มองโลกในแง่ดีมักมุ่งจัดการกับความเครียดแบบมุ่งจัดการปัญหา (Active Coping) ทำให้คนที่มองโลกในแง่ดีมักมีความเครียดน้อยกว่า ส่วนคนที่มองแบบโลกสวยหลอกตัวเองมักจัดการกับความเครียดแบบหลีกหนีปัญหา (Avoidance Coping) ทำให้เกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวเพราะไม่ได้ไปจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

 

 

ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ถูกเพื่อนร่วมงานนินทาในที่ทำงาน

 

 

คนที่มองโลกในแง่ดี จะมองว่าในคำนินทานั้นอาจจะมีความจริงปนอยู่ก็ได้ จึงกลับไปสำรวจทบทวนตนเอง หากพบว่าตนเองมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงพัฒนาจริง ๆ ก็แก้ไขปรับปรุงให้เป็นคนที่ดีขึ้น แต่หากพบว่าตนเองไม่ได้เป็นแบบที่ถูกนินทาก็ใช้ชีวิตปกติเหมือนเดิมต่อไป และอาจจะแอบรู้สึกขอบคุณในใจที่มีคนมากระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง

 

blockquote{ border:1px solid #d3d3d3; padding: 5px; }

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล