ReadyPlanet.com


ทำไมคนเราถึงต้องนินทา! นักจิตวิทยาแนะนำ 5 วิธีรับมือการนินทา
avatar
เจ้าหนู


 คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก” คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราทุกคนล้วนเป็นทั้งคนที่ถูกนินทาและเป็นคนที่ที่นินทาคนอื่น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการนินทาจะเป็นพฤติกรรมที่ค่อนข้างเป็นไปในทางลบ และในโลกนี้ก็คงจะไม่มีใครชอบที่จะถูกนินทา แต่ทำไมคนเราถึงต้องนินทา การนินทามันมีประโยชน์สาระอะไรต่อชีวิตมนุษย์อย่างนั้นหรือ?

 

 

หากพิจารณาจากลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ การนินทาจัดว่าเป็นเครื่องมือการสื่อสารแบบหนึ่งที่ก็มีด้านที่เป็นประโยชน์อยู่เหมือนกัน เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงมักจะรู้สึกโหยหาความรู้สึกเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ มนุษย์มีความรู้สึกเหงา ซึ่งการนินทาสามารถช่วยให้หายเหงาได้ รวมไปถึงมันยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้รู้สึกว่า “ฉันยัง connect กับคนอื่นอยู่” และในทางวิทยาศาสตร์ยังพบด้วยว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราได้ยินการนินทาไม่ว่าจะถูกนินทาเองหรือนินทาบุคคลที่สาม สมองส่วน prefrontal cortex จะทำงานมากขึ้นและจะสามารถพัฒนาทักษะที่ซับซ้อนทางสังคมขึ้นมาได้ แต่ปัญหาคือการนินทาของมนุษย์ในบางครั้งมันก็มีลักษณะที่เกินไป จนมันกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะคนเรามักจะชอบแพร่ข่าวลือในทางลบมากกว่าจะพูดถึงเรื่องดี ๆ ของคนอื่น ซึ่งหากจะถามว่าคนแบบไหนที่ชอบนินทา คนแบบนั้นก็มักจะเป็นคนที่...

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการนินทามันจะมีด้านดีอยู่บ้าง แต่ถ้าต้องอยู่กับเรื่องนินทาเยอะเกินไปก็อาจจะไม่ไหว คนเราจึงควรเรียนรู้วิธีการที่จะรับมือกับการนินทาเอาไว้บ้าง ได้แก่

 

 

1. ฝึกโฟกัสไปที่เรื่องดี ๆ

 

 

การอยู่ในวงนินทามาก ๆ บางครั้งก็ทำให้คนเราจิตตกได้ ดังนั้น พยายามฝึกให้ตัวเองเป็นคนที่ไวกับเรื่องดี ๆ เช่น เมื่อมีคนมานินทาให้ฟัง ก็พยายามนึกถึงข้อเท็จจริงโดยเฉพาะในมุมดี ๆ ของคนที่ถูกนินทาเอาไว้ในใจ การนึกถึงเรื่องดี ๆ จะช่วยปรับมุมมองให้เป็นบวกมากขึ้น รวมถึงช่วยให้รูปแบบของการสื่อสารเป็นไปในทางบวกและมีสาระมากขึ้นด้วย

 

 

2. รับรู้ให้ได้ว่าการนินทามันส่งผลยังไงกับตัวเองบ้าง

 

 

การอยู่ในวงนินทามันย่อมจะมีผลกระทบบางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวคุณเอง ลองถามตัวเองว่าเวลาที่ต้องเจอกับเรื่องนินทา ตัวเองมีความรู้สึกยังไง เป็นไปในทางตื่นเต้นที่ได้รู้เรื่องลับของคนอื่นหรือเป็นไปในทางที่รู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ จะได้เข้าใจตัวเองว่ารู้สึกยังไงกันแน่เวลาที่อยู่ในการนินทา

 

 

3. ใช้วาทศิลป์เลี่ยงการนินทา

 

 

เมื่อรอบตัวเริ่มมีการนินทาเกิดขึ้นและคุณรับรู้ตัวเองได้ว่าอึดอัดไม่สบายใจ คุณอาจจะใช้การพูดเพื่อหลบฉากออกไปจากวงนินทา เช่น “ขอตัวก่อนนะ มีธุระที่ต้องทำ” การปลีกตัวออกไปจะช่วยให้คุณไม่ต้องได้ยินและไม่ต้องร่วมนินทาไปกับคนอื่น

 

 

4. บอกไปตรง ๆ

 

 

หากคุณไม่ชอบการนินทาจริง ๆ ก็อาจจะบอกไปตรง ๆ ได้เหมือนกันว่าคุณไม่อยากจะร่วมสนทนาในเรื่องนี้ เพราะคุณมีเรื่องอื่น ๆ ที่คุณสนใจมากกว่า และบอกคนอื่นไปว่าคุณจะเข้ามาร่วมสนทนาหากมันเป็นเรื่องที่คุณสนใจ

blockquote{ border:1px solid #d3d3d3; padding: 5px; }
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล