ReadyPlanet.com
อุทยานราชภักดิ์ article

อุทยานราชภักดิ์

Rajabhakti  Park

อุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

 

ข้อมูล

ชื่อ : อุทยานราชภักดิ์

ลักษณะ : พระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยามทั้ง 7 พระองค์

สถานที่ตั้ง : พื้นที่กองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ขนาดพื้นที่ : 222 ไร่

วิธีการเดินทาง : โดยรถยนต์ จากกรุงเทพเข้าตัวเมืองหัวหิน เดินทางลงใต้ผ่านตัวเมืองหัวหิน เข้าเขตุพื้นที่กองทัพบก จะพบอุทยานอยู่ทางขวามือ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง
"พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม" พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์

           โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์" ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ๗ พระองค์ ได้แก่

๑.พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)


๒.สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)


๓.สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)


๔.สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)


๕.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

๖.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)


๗.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)


          
โดยวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์มีดังนี้

1. เพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณ สมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ อันนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติไทยตราบจนทุกวันนี้


2. เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพบก และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในโอกาสที่มาเยือนกองทัพบกอย่างเป็นทางการ


3. เพื่อใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สำหรับให้กำลังพลและครอบครัวของกองทัพบก รวมถึงนักเรียนทหาร ตลอดจนประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เข้ามาทัศนศึกษาและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย

 

พื้นที่และกรอบแนวคิดการจัดสร้าง

กองทัพบก จะดำเนินการจัดสร้าง อุทยานราชภักดิ์ ภายในพื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๒๒๒ ไร่เศษ ซึ่งองค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์ จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ จำนวน ๓ ส่วนหลัก ประกอบด้วย

 

ส่วนที่ ๑ : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ โดยน้อมถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์แต่ละยุคสมัยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ชึ่งพระนามแต่ละพระองค์เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้พื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ โดยรูปแบบของพระบรมราชานุสาวรีย์ จะจัดสร้างในลักษณะพระอิริยาบถทรงยืน ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน ๑๓.๙ เมตร หล่อด้วยโลหะสำริดนอก

 

ส่วนที่ ๒ : ลานอเนกประสงค์ มีเนื้อที่ประมาณ ๙๑ ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ
ส่วนที่ ๓ : อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้า รวบรวม และจัดทำพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะดำเนินการจัดสร้างบริเวณด้านล่างของฐานพระบรมราชานุสาวรีย์
พื้นที่ส่วนที่เหลือจำนวน ๑๒๖ ไร่ จะเป็นสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก
 

กรอบระยะเวลาดำเนินงาน

๑. การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ และการก่อสร้างลานอเนกประสงค์
ตั้งแต่เดือน พ.ย.๕๗-ส.ค.๕๘ รวมระยะเวลา ๑๐ เดือน
๒. การจัดทำนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.๕๘ เป็นต้นไป หรือภายหลังจากการก่อสร้างฐานและพระบรมราชานุสาวรีย์เสร็จเรียบร้อย

 

บางเบิดรีสอร์ท ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
www.rta.mi.th

 หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าอุทยานราชภักดิ์อยู่ตรงไหน ก็บอกได้เลยว่า ถ้ามาเส้นหัวหิน อย่าไปทางบายพาส ขับล่องใต้มาจะเจอ อุทยานราชภักดิ์อยู่ทางขวามือ เด่นเป็นสง่าแน่นอน ส่วนบางคนสงสัยว่าอุทยานราชภักดิ์มีใครบ้าง หรือมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดบ้าง ก็สามารถดูตามข้อมูลนี้ได้เลยครับ

๑.พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)
๒.สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๓.สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๔.สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)
๕.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
๖.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
๗.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
 

และสุดท้ายอุทยานราชภักดิ์ ภาษาอังกฤษ เขียนยังไง เขียนแบบนี้ครับ  Rajabhakti Park ครับ




สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งท่องเที่ยวประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบฯ

เกาะทะลุ ไข่มุกแห่งทะเลอ่าวไทย !! article
พักผ่อนหย่อนใจที่หาดบางเบิด article
เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่
น้ำตกไทรคู่ article
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ article
กินปูห้อยขา เกาะยอ ชุมพร article
พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
น้ำตกห้วยยาง article
เนินสันทราย สิ่งมหัศจรรย์ของไทย article
ด่านสิงขร แคบสุดในแผ่นดินสยาม
น้ำตกทาร์ซาน หรือน้ำตกไชยราช article
ท่องเที่ยวหาดผาแดง article
ฟาร์มบางเบิด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร article
วัดเขาถ้ำม้าร้อง article
เขาบางเบิด article
วัดแก้วประเสริฐ article
วัดห้วยมงคล article
ถ้ำบางเบิด article
เพลินวาน หัวหิน article
เกาะเวียง
เกาะพระ
อ่าวประจวบ
เขาล้อมหมวก
ศาลหลักเมืองประจวบ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ ณ บางเบิด article
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ article
วังไกลกังวล article
ถ้ำเพชรทรายทอง หรือถ้ำอโนดาต article
เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ article