ReadyPlanet.com
วิธีการเตียมอุปกรณ์ดำน้ำ article

บางเบิดรีสอร์ท แนะนำวิธีการดำน้ำเบื้องต้น ให้แก่ผู้ที่ต้องการไปดำน้ำดูปะการัง ที่เกาะทะลุ เกาะสิงห์

หน้ากากดำน้ำ

1. หน้ากาก
ควรต้องพอดีกับหน้า ไม่มีรอยฉีกขาด ก่อนลงน้ำปรับสายรัดศรีษะให้พอดีไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป ก่อนใช้งานควรทำการป้องกันการเกิดฝ้าบนกระจกหน้ากากดำน้ำไว้ก่อน (เรียกว่าการทำ Film)

- การทำฟิล์มบนหน้ากาก
บ่อยครั้งมากที่พวกเราเวลาดำน้ำอยู่ แรกๆก็มองทุกอย่างสวยใสดี หลังจากนั้นแค่ 5-10 นาที เราก็มองอะไรไม่เห็นกันแล้วเอน้ำก็ไม่ขุ่นนี่นา แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ปรากฏว่าเจ้าหน้ากากของเรานั่นเองที่เกิดฝ้าไอน้ำจับ ที่กระจกหนาขึ้นเรื่อยๆ จนขาวไปหมด สาเหตุการเกิดฝ้าจับที่กระจกเกิดจาก ไอน้ำที่ออกจากลมหายใจของเรา ไปสัมผัสกับกระจก ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้ไอน้ำที่ว่าเกิดการควบแน่นตามหลักวิทยาศาสตร์ หากเราทำให้ไอน้ำไม่สามารถสัมผัสกับกระจกได้โดยตรงก็จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้จึงเป็นที่มาของการทำฟิล์มบนหน้ากาก

- หลักการทำฟิล์มบนหน้ากาก
ทำให้ผิวกระจกด้านใน มีแผ่นฟิล์มฉาบอยู่ที่ผิวด้วยวัสดุต่างๆ ที่สามารถใช้ทำฟิล์มได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ ไอน้ำสัมผัสกับผิวกระจกโดยตรงแล้วเกิดจับตัวเป็นฝ้า

- วัสดุที่สามารใช้ทำฟิล์มได้
1. สบู่เหลวหรือยาสระผมบางคนใช้ซันไลน์ก็ได้
2. ยาสีฟัน
3. น้ำยา Anti Fog หาซื้อได้ตามร้านดำน้ำทั่วไปแต่แพงครับ ขวดประมาณ ยาหยอดตาราคาประมาณ 100- 200 บาท ไม่แนะนำให้ใช้ครับ
4. น้ำลาย อย่าตกใจครับผมไม่ได้เขียนผิดน้ำลายจริงๆครับ และเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพที่สุด และประหยัดที่สุดด้วยครับ น้าลายของเรานี่แหละ(ถ้าเป็น 3 อย่างแรก สามารถขอของคนอื่นมาใช้ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำลายไม่แนะนำให้ไปขอคนอื่นมาใช้แบบ 3 อย่างแรกนะครับ)น้ำลายที่ใสๆเหลวๆจะไม่ดีเท่าน้ำลายที่มีความหนืดเล็กน้อยครับ
* เทคนิคก่อนใช้น้ำลายควรดื่มน้ำก่อนล่วงหน้าสัก 1-2 นาทีนะครับ แล้วอย่าเพิ่งกินอะไรตามก่อนจะนำไปทำฟิล์ม

- วิธีการทำฟิล์มบนหน้ากาก
1. ล้างหน้ากากให้สะอาดโดยเฉพาะ บริเวณกระจกด้านใน แล้วทิ้งให้แห้งสนิท(ยกเว้นกรณีใช้น้ำลายจะใช้ได้ทุกสภาพการณ์ ไม่ว่าจะแห้งหรือเปียก)
2. เลือกใช้วัสดุที่ใช้ทำฟิล์มที่ชอบมา 1 ชนิดแล้วหยดลง บนกระจกด้านในทั้ง 2 ข้างเพียงเล็กน้อย ห้ามใส่เยอะนะเดี๋ยวจะแห้งไม่ทัน(หากเวลาน้อย) หรือหนาเกินไปแล้วลางไม่หมดอาจแสบตา
3. ใช้มือถูน้ำยาที่หยดลงไปกระจกโดยถูวนไปมาเป็นวงกลมให้ทั่วกระจกทั้ง 2 ข้าง ต้องถูจนน้ำยานั้นเริ่มแห้งจึงสามารถหยุดถูได้ดังนั้นถ้าใส่เยอะมันก็จะไม่แห้งสักที
4. รอจนกว่าจะดำน้ำจึงเอาหน้ากากที่ผ่านขั้นตอนที่ 3 ที่แห้งสนิทแล้วจุ่มลงน้ำจืด(ถ้าไม่มีก็น้ำทะเลก็ได้) แล้วกลิ้งๆล้างน้ำยาส่วนเกินออกจากกระจกแล้วเทน้ำทิ้ง หากใชน้ำยามากเกินอาจต้องทำการล้างส่วนเกินนี้ 2 ครั้ง ระหว่างการล้างห้ามใช้มือถูอีก และหลังจากนี้ก็ห้ามจับกระจกด้านในอีก ตลอดการดำน้ำกระจกจะใสอยู่ตลอดเวลา ปกติผมจะทำฟิล์มทิ้งไว้ตั้งแต่ก่อนนอนด้วยยาสระผมหรือสบู่เหลวเช้ามาจะได้พร้อมใช้งาน หรือถ้าขี้เกียจก็จะมาทำก่อนลงน้ำสัก 1 ช.ม. พอถึงเวลาลงน้ำก็แห้งพอดี จับจุ่มน้ำ 1 ทีกลิ้งๆใช้งานได้ทั้งวันไม่มีขุ่น หากใครลงไปแล้วรู้สึกว่าขุ่นก็ต้องแก้ขัดทำฟิล์มกันใหม่ด้วยน้ำลายไประหว่างนั่งเรือไปดำน้ำจุดต่อไปก็ได้ครับง่ายที่สุด

ท่อหายใจ


2. ท่อหายใจ(Snorkel)
ควรใช้แบบมีวาวล์ เพื่อไล่น้ำออกได้ง่าย เผื่อเวลาน้ำเข้าท่อจะได้ Clear น้ำออกจากท่อได้ง่าย(ราคาจะแพงกว่า แบบไม่มีวาวล์เล็กน้อย 100-200บ.) ก่อนลงน้ำปรับตำแหน่งของท่อกับหน้ากาก ให้เหมาะสมพบบ่อยมาก คนที่ดำน้ำไม่สนุกเพราะน้ำเข้าท่อและสำลักน้ำตลอดเวลา เพราะเวลาคว่ำหน้าลงน้ำแล้วปลายท่อไม่ตั้งฉากกับผิวน้ำแต่ ปลายท่อกลับทิ่มลงไปในน้ำ หรือสูงกว่าผิวน้ำ ไม่ถึง 10 ซ.ม. เวลาคลื่นมาทีน้ำก็เข้าตลอด ตรงนี้สำคัญมากถ้าแก้ตรงนี้ได้ ความสนุกสนานกับการดำน้ำจะมากขึ้นนะครับ

เสื้อชูชีพ

3. ชูชีพ
ต้องรัดสายทุกเส้นให้ถูกต้องและกระชับ โดยเฉพาะสายรัดเป้า คนส่วนใหญ่ 50% มักไม่รัด ปัญหาเมื่อไม่รัดคือเวลาลงน้ำ ชูชีพจะลอยขึ้นมาดันคอ หรือ ท่อหายใจ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาเวลาดำน้ำ และชูชีพควรมีนกหวีดเผื่อใช้กรณีขอความช่วยเหลือเมื่ออยู่ห่างไกลเรือ หรือเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน

4. ตีนกบ(ฟิน)
อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่จำเป็นนัก และเป็นดาบ 2 คม ประโยชน์หลักๆ คือช่วยให้เราแหวกว่ายไปในน้ำได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม 5-10 เท่า ทำให้เกิดความคล่องตัวและประโยชน์อีกอย่างคือช่วยทำให้ตัวไม่จมเมื่อ ใส่หน้ากาก+คาบท่อ+ใส่ตีนกบ+คว่ำหน้าอยู่ในน้ำ+แล้วหายใจทางปาก ถ้าคุณทำ 5 อย่างที่ว่านี่พร้อมกัน ไม่ต้องมีชูชีพยังไงก็ไม่จมครับ(ใครทำแล้วจมเดี๋ยวพาไปเที่ยวเกาะทะลุฟรีเลย อิอิ) ใครไม่เชื่อลองพิสูจน์ดูได้ ส่วนข้อเสียคือ หากออกแรงตีฟินมากเกินไปอาจทำให้เกิดตะคริวได้ แต่ถ้าใส่แล้วใช้ไม่ถูกวิธีแทนที่จะแหวกว่ายได้เร็วขึ้น 5-10 เท่าเรากลับ ว่ายอยู่กับที่(หากเราตีฟินแบบพับข้อเข่าไปมา การตีฟินที่ถูกต้องคือ ขาเหยียดค่อนข้างตรงงอข้อพับเข่าได้เล็กน้อย) และปัญหาอีกอย่างของผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการ Snorkeling แล้วใส่ฟินคือ ชอบยืนบนประการังเพราะไม่เจ็บขาทำให้ประการังพังครับ อันนี้ขอเลยอย่าทำเด็ดขาด หรือบางทีว่ายตีฟินไปโดนประการังหักโดยไม่ตั้งใจ ขอให้ระวังกันด้วยนะครับ

เครดิต http://www.savekohsurin.com/webboard/topic.php?topicid=109




แนะนำวิธีการดำน้ำเบื้องต้น

ฝึกใช้อุปกรณ์ดำน้ำ article
เทคนิคการดำน้ำ article
ข้อควรปฏิบัติในการดำน้ำ
อันตรายจากสัตว์ทะเล
อันตรายจากปลาสิงโต
ทำไมถึงห้ามให้อาหารปลาในแนวปะการัง
ถ้าถูกหอยเม่นตำเท้ามีวิธีการรักษาอย่างไร
การเตรียมอุปกรณ์ไปดำน้ำ เตรียมตัวไปดำน้ำ เตรียมอุปกรณ์ไปเที่ยวทะเล เตรียมตัวเที่ยวทะเล
วิธีแก้อาการเมาเรือ
สิ่งที่ไม่ควรกระทำในการไปดำน้ำ